วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กติกาและวิธีการเล่นกระบี่กระบอง

        การเล่นกระบี่กระบองแต่ละครั้งนั้นมีแบบแผนการเล่นที่กำหนดไว้  ดังนี้
1. การถวายบังคม

        ในสมัยโบราณการแสดงการต่อสู้มักกระทำต่อหน้าที่ประทับ ผู้แสดงจึงต้องมีการถวายบังคมซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย  และต่อมาได้เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และผู้มีพระคุณ การถวายบังคมนี้จะกระทำ 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีความหมายดังนี้

         ครั้งที่ 1 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา
         ครั้งที่ 2 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อองค์พระประมุขของชาติ
         ครั้งที่ 3 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการและมีพระคุณ


2. การขึ้นพรหม ประกอบด้วย การขึ้นพรหมนั่ง และการขึ้นพรหมยืน 

        
2.1 การขึ้นพรหมนั่ง ได้แก่ การนั่งร่ายรำแต่ละทิศจนครบ 4 ทิศ แล้วจึงกลับหลังหันลุกขึ้นยืน
         2.2 การขึ้นพรหมยืน เป็นการยืนรำแต่ละทิศจนครบทั้ง 4 ทิศ และจบลงด้วยการเตรียมพร้อมจะปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

         การขึ้นพรหมนี้ ถ้าฝ่ายหนึ่งขึ้นพรหมนั่งอีกฝ่ายจะขึ้นพรหมยืน นอกจากเป็นการสร้างกำลังใจและคุ้มครองในการต่อสู้แล้ว การขึ้นพรหมนี้ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้บันทึกไว้ว่า  เป็นการสอนให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ พรหมวิหารสี่

3. การรำเพลงอาวุธ 

         ผู้แสดงที่เล่นอาวุธใดจะเลือกรำเพลงตามอาวุธที่ตนใช้  โดยเลือกท่ารำจากท่ารำทั้งหมดในอาวุธนั้นตามความเหมาะสมหรือความชำนาญของผู้เล่นประมาณ 1 ท่า การรำเพลงอาวุธนี้มีมานานแต่สมัยโบราณ และมีประโยชน์ต่อผู้เล่น 

4. การเดินแปลง 

       
  เป็นลักษณะของการเดินที่พร้อมจะเข้าสู่ท่าต่อสู้ การเดินจะเดินไปจนสุดสนามแล้วกลับมาที่เดิมขณะที่อยู่ในระยะใกล้ที่จะสวนกันให้ต่างหลีกไปทางซ้ายเพียงเล็กน้อย โดยอาวุธอาจจะถูกหรือระกันเล็กน้อยได้  การเดินแปลงเป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างจ้องดูเล่ห์เหลี่ยมของกันและกัน เป็นการอ่านใจกันและคุมเชิงกันในทีก่อนจะเข้าต่อสู้
5. การต่อสู้ 

         ะเป็นการใช้ท่าทางการต่อสู้ที่ได้ฝึกมาทั้งหมดในสถานการณ์จริง การต่อสู้นี้จะใช้อาวุธของการต่อสู้ที่เรียกว่า "เครื่องไม้ตี" มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องไม้รำแต่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงาม


6. การขอขมา 

         เป็นการไหว้กันและกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายหลังจบการแสดงแต่ละอาวุธ เป็นการขอโทษต่อการแสดงที่ผิดพลั้งต่อกัน เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นในภายหลังจากสมัยท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา 


         การแสดงกระบี่กระบองมีธรรมเนียมดีอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีดนตรีประกอบซึ่งจะมีปี่ชวา กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) ตัวเมีย (เสียงต่ำ) และฉิ่งจับจังหวะ เพราะไทยเป็นชาติรักดนตรีการเล่นหรือแสดงเฉย ๆ จะรู้สึกเงียบเหงา ขาดรสชาติหาความสนุกสนานได้ยาก นอกจากดนตรีจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น แล้วยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิมมีกำลังใจในการต่อสู้ โดยเฉพาะเสียงกลองจะเป็นเหมือนเสียงหนุนหรือยุให้ผู้เล่นคิดจะสู้เรื่อย ๆ ไปโดยไม่คิดจะถอย มีแต่จะบุกติดตามเข้าไปด้วยความทรหดอดทน อีกประการหนึ่ง ในการแข่งขันต้องมีการรำอาวุธก่อนต่อสู้ ซึ่งถือว่าเป็นการดูเชิงและเป็นการทำให้กล้ามเนื้อตื่นตัวลดความตื่นเต้น ถ้าไม่มีเสียงดนตรีแล้วจะรำได้อย่างไร


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ลูกไม้ 6 ไม้
ไม้ตีที่ 1 ท่าคุมตีลูกไม้เป็นท่ายืนเตรียมพร้อมก่อนที่จะฝึกหัดตีลูกไม้โดยยืน เท้าชิด หันหน้าเข้าหากัน มือจับกระบี่อยู่ทางขวา ปลายกระบี่พิงอยู่ที่ไหล่ขวา แขนเหยียดตึง โกร่งกระบี่อยู่ข้างหน้า แขนซ้ายอยู่ข้างลำตัว
จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

ไม้ตีที่ 2
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตี ลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยูข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุกให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตีของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลง ทาง ขาขวาของฝ่ายรับ มือซ้ายลดลง
- ฝ่ายรับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พร้อมกับพลิกกระบี่กลับไปรับทางขวา มือซ้ายลดลง

ไม้ตีที่ 3
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตีของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลงทางขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลง
- ฝ่ายรับ ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับพลิกกระบี่ไปรับการตีของฝ่ายรุก มือซ้ายลดลง

ไม้ตีที่ 4
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง

ไม้ตีที่ 5
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง
จังหวะที่ 5
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นด้านหลัง
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ  มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น

ไม้ตีที่ 6
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บนพร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง
จังหวะที่ 5
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น
จังหวะที่ 6
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับยกโกร่งกระบี่ขึ้น ให้ปลายกระบี่ชี้ไปข้างหลัง ใช้โคนกระบี่กระแทกลงไปที่หน้าของฝ่ายรับมือซ้ายลดลง
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง ยกกระบี่ขึ้นเหมือนจังหวะที่ 5 ใช้ตัวกระบี่รับโคนกระบี่ของฝ่ายรุก แล้วดันขึ้น
ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)
ท่าคุมรำ
1.มือซ้ายจีบที่หน้าอก ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น หงายมือ โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก แขนท่อนบนอยู่ชิดลำตัว ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง
2.ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น เข่าซ้ายงอเป็นมุมฉาก ขาท่อน บนขนานพื้น เข่าขวาตึง มือซ้ายรำหน้า แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
3.หมุนตัวต่อไปทางซ้าย 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลงวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางซ้ายไว้ข้างเอว โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก ก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
4.มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉากวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา วางเท้า ขวาลง พลิกข้อมือหงาย อยู่ในท่าคุมรำ
ไม้รำที่ ควงทัดหู ( เดินสลับฟันปลา )
จากท่าคุมรำ
1.ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างขวา 1 ก้าว ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู
2.ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากพร้อมกับจ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลงแล้วก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว พลิกกระบี่ไปอยู่ข้างหน้าลำตัวกระบี่ เฉียงออก 45 องศา โกร่งกระบี่หันเข้าหาลำตัว
3.ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วยกเท้าขวาขึ้นมือซ้ายรำข้างหมุนตัวกลับไปทางขวา 1 มุมฉาก มือซ้ายจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง กลับมาอยู่ในท่าคุมรำ
ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )
ท่าคุมรำ                
1.ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
2.ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น มือซ้ายรำหน้า
3.วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายมาจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังทางขวาหมุนข้อมือ บิดไปทางขวา ให้โกร่งกระบี่อยู่นอกกระบี่เฉียงลง 45 องศา แขนขวาชิดข้างหู งอแขนเล็กน้อย หน้าก้ม โล้ตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
4.หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ขณะที่ยกเท้าขวาอยู่โดยใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก วางเท้าขวาลงลดกระบี่ลงอยู่ข้างเอวทางซ้าย ฝ่ามือซ้ายทาบกระบี่ โกร่งกระบี่หัน ลงสู่พื้น ปลายกระบี่ชี้ลง โล้ตัวไปข้างหน้า
5.ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก อยู่ในท่าคุมรำ
ไม้รำที่ ตั้งศอก ( เดินสลับฟันปลา )
ท่าคุมรำ
1.ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า
2.ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น ยกมือซ้ายมาตั้งศอกที่เข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะกระบี่หันฝ่ามือไปทางขวา
3.หมุนตัวไปทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบที่หน้าอก และลดกระบี่ มาอยู่ข้างหน้าเฉียงขึ้น 45 องศา พลิกข้อมือ หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว ก้าวเท้าขวาไปข้าหน้าเฉียงไปทางซ้ายอีก 1 ก้าวโล้ตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าซ้ายขึ้น
4.มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอกหมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉาก วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ไปทางขวา กลับไปอยู่ในท่าคุมรำ
ไม้รำที่ จ้วงหน้าจ้วงหลัง ( เดินตรง )
ท่าคุมรำ
1.ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า
2.ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นจ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง
3.ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว พลิกข้อมือให้กระบี่เฉียงอยู่ข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นมือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
4.วางเท้าขวาลงข้างหน้า หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
5.จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ถอยเท้าซ้ายวางไว้หลังเท้าขวาพลิกข้อมือให้กระบี่อยู่ข้างหน้าเฉียง45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหา ลำตัว โล้หน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
6.มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอกวางเท้าขวาลงข้างหน้าหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า
7.ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า 1 ก้าว กลับมาสู่ท่า คุมรำ

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง หรือควงป้องหน้า ( เดินตรง )
ท่าคุมรำ
1.ควงกระบี่สองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า
2.มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า แขนงอเล็กน้อย หน้าก้มให้มือซ้ายรำอยู่ ใต้โกร่งกระบี่ลาดเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
3.วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา พร้อม กับควงกระบี่สองรอบ พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศาโกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า
4.มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า ให้มือซ้ายรำอยู่ใต้โกร่งกระบี่ แขนงอเล็กน้อยหน้าก้มลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
5.หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ยกกระบี่ไปข้างหน้าทางขวามือซ้าย จีบไว้ที่หน้าอกวางเท้าขวาลง
ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์ 
1.ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าวางเท้าซ้ายโดยหันลำตัวทางขวา คล้ายทำขวาหัน ยืนในท่ายักษ์ คือการย่อเข่าทั้งสอง น้ำหนักตัวลงตรงกลาง ลำตัวตรง หน้าตรง ตัวกระบี่ขึ้นตรงวางไว้หน้าขาขวา ปลายกระบี่พาดช่วงไหล่ขวา
2.เมื่อลำตัวนิ่งในท่ายักษ์แล้ว ให้สลัดหน้าไปทางซ้าย แล้วสลัดหน้าไปทางขวา
3.สลัดหน้าตรงพร้อมกับยกกระบี่ขึ้นฟังให้ตรงข้างหน้าทางขวา 1ครั้งทางซ้าย 1 ครั้ง โดยฟันเป็นลักษณะกากบาท
4.เมื่อยก กระบี่ขึ้นฟันข้างหน้า ขวา – ซ้าย แล้วให้กลับอยู่ในท่ายักษ์
5.ยกเข่าขวาตั้งฉากใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพลิกตัวกลับหลังหัน เมื่อกลับหลังหันแล้วให้วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้ายตัวตรง หน้ามองตรงพร้อมกับยกเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหลังหันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เท้าขวาเป็นจุดหมุน จะกลับมาอยู่คล้ายจังหวะที่ 4 ลักษณะท่ายักษ์ เมื่อตัวนิ่งแล้ว ให้สลัดหน้าทางซ้าย 1 ครั้ง ทางขวา 1 ครั้ง และกลับมาสู่ท่ายักษ์
ไม้รำที่ 8 สอยดาว
1.ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า เปลี่ยนวิธีจับกระบี่ใหม่ โดยใช้นิ้วชี้สอดขึ้นบนกระบี่ จับกระบี่ด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมกับปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกระบี่ ขณะที่ปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง จับกระบี่โดยหงายมือขึ้น โกร่งกระบี่หันออก วางเท้าซ้ายลงพื้นทำขวาหัน ลดมือซ้ายใช้ฝ่ามือแตะที่ตัวกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้นเล็กน้อย
2.ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ฝ่ามือซ้ายแตะที่กระบี่
3.ยกเข่าซ้ายตั้งฉาก ยกกระบี่ขึ้นเล็กน้อย ฝ่ามือซ้ายแตะกระบี่
4.ก้าวซ้ายตรงไปข้างหน้า พร้อมกับจ้วงกระบี่และสอดกระบี่ขึ้นข้างบน เรียกว่า สอยดาว” พร้อมกับก้าวเท้าขวาเดินอีก 1 ก้าว ทำกลับหลังหัน
5.พลิกข้อมือกระบี่ตั้งขึ้นหันโกร่งกระบี่ออก งอเข่าทั้งสองข้างลำตัวตั้งตรง มือซ้ายจิ้มเข้ากลางหน้าอก
6.ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าหลัง
7.ยกเข่าขวาตั้งฉาก เมื่อตัวนิ่งแล้วมือซ้ายเหยียดออกรำหน้า
8.วางเท้าขวาลงพื้น พลิกข้อมือที่จับกระบี่หงายมือขึ้นแบฝ่ามือซ้ายหันฝ่ามือลง แตะปลายกระบี่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปเข่าขวา ยกเข่าซ้ายตั้งฉากเพื่อเดินตรงไปข้างหน้า
9.พลิกข้อมือหันโกร่งกระบี่ออกนอกลำตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้นข้างบนประมาณ 45 องศา มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อย
10.ยกเข่าขวาตั้งฉากให้ตัวนิ่งแล้วมือซ้ายรำหน้า 
ไม้รำที่ 9 ควงแตะ 
1.ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับทำขวาหัน ควงกระบี่ 2 รอบ เหยียดมือซ้ายรองรับปลายกระบี่ ที่ขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออกเรียกว่าควงแตะ งอเข่าทั้ง 2 เล็กน้อย ลำตัวตรง
2.ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ใช้เท้าเป็นจุดหมุนกลับหลังหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวา ลงพื้นในทิศทางตรงไปข้างหน้า เช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 แต่หันหน้าตรงข้ามกัน
3.ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงกระบี่ขนานพื้น หน้ามองตรง
4.ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ทำช้า ๆ ให้ลำตัวนิ่ง
5.ยกเข่าขวาตั้งฉาก
ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ
1.ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นปก (แขนขวาแนบที่หูขวาคว่ำปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก โล้ตัวไปหน้าให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย มือซ้ายเหยียดออกคล้ายรำหน้า นิ้วชิดติดกัน หันฝ่ามือออกให้โคนกระบี่วางที่กลางนิ้วก้อย)
2.ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย พยายามย่อเข่าทั้ง 2 ลงเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม
3.ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ให้ตัวนิ่งไว้ระยะหนึ่ง
4.วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าค่อย ๆ ยกปลายกระบี่ชี้ขึ้น มือทั้งสองทำท่าแหวก หรือท่าว่ายน้ำ ท่ากบ ซึ่งเรียกว่า แหวกฟองน้ำ ให้แขนทั้งสองเสมอไหล่ และขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออก ย่อเข่าซ้าย น้ำหนักตัวโล้ไปเท้าซ้าย
5.วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าพลิกตัวกลับหลังหันโดยหมุนตัวทางขวา รวมทั้งแขนทั้งสองมาป้องข้างหน้า โดยแบมือซ้ายหันฝ่ามือลงพื้นให้กระบี่ตั้งขึ้นอยู่ในง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้งอข้อศอกทั้งสองยกขึ้นขนานกับพื้นอยู่เหนือสายตา
6.ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก
7.ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนตัวไปทางขวา (ทำขวาหัน) พร้อมกับวางเท้าขวาลงข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นตั้งฉาก
ไม้รำที่ 11 ลดล่อ
1.ท่าคุมรำลดกระบี่ลง แขนงอเล็กน้อย กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกแขนขึ้นระดับหน้าผาก หันหน้ามองลอดแขนไปทางปลายกระบี่ ย่อตัวให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า ลด
2.ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกเท้าขวาหมุนตัวกลับหลังหัน โดยหมุนตัวทางขวามือ วางเท้าขวาหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายกำหลวม ๆ ลดลงระหว่าหน้าขาซ้ายงอข้อศอกเล็กน้อยยกกระบี่ขึ้นแขนงระดับหน้าผาก ก้มหน้า หันหน้ามองปลายกระบี่เสมอ โล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า ล่อ” (จบไม้รำที่ 11 ลดล่อ) ถ้าต้องการรำต่อ ให้ก้าวเท้าซ้ายสอดไปหลังเท้าขวา และวางเท้าขวาข้างหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับพลิกตัวกลับหลังทางซ้ายมือ กลับอยู่ท่าคุมรำ หรือทำจังหวะที่ 1 ต่อไป 
ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน 
1.ก้าวเท้าซ้ายไปทางขวากึ่งขวาหัน ตั้งกระบี่ขึ้นเอามือซ้ายไปรองด้ามกระบี่ โดยแบมือขึ้น โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า
2.ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายทำช้า ๆ
3.ยกเท้าซ้ายขึ้นให้เข่าตั้งฉาก ลำตัวตรง
4.ให้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน หมุนตัวไปเฉียงซ้าย พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงกึ่งซ้ายหันโล้น้ำหนักตัวไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย ลำตัวตรงนิ่งไว้ระยะหนึ่ง จึงก้าวเท้าขวาเดิน 1 ก้าว วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
5.ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก มือว้ายรำโดยการพลิกให้ฝ่ามือหันออก หลังมืออยู่หน้าโกร่งกระบี่
การขึ้นพรหมยืน
1.พรหมยืน ให้หันหน้าเข้าหาคู่พรหมนั่ง วางกระบี่ปลายชี้ไปข้างหน้าห่างกึ่งกลางเข่าทั้งสองพอประมาณ
2.ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
3.ประณมมือ วันทา แล้วหยิบกระบี่ทัดหูเฉียง 45 องศา ตั้งเข่าซ้าย
4.จ้วงกระบี่ด้านหน้า ลุกขึ้นยืนหันทางขวา 90 องศา หงายมือโกร่งอยู่ด้านบนกระบี่ เฉียง 45 องศารำข้างเสมอคิ้ว
5.ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า เปลี่ยนกระบี่ทัดหู ลากเท้าขวาไปข้างหน้าเปลี่ยนหงายกระบี่เฉียง 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
6.ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้ายยกเข่าซ้ายจ้วงกระบี่พร้อมก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเท้าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวามาทางด้านขวา หันหน้าไปทางซ้ายมือ 90 องศา ท่าทัดหู
7.ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่ พร้อมวางเท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย

8.ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่พร้อมวางเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา หงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว ควง 2 รอบ ยืนคุมรำ เสร็จแล้ว ตรง
การขึ้นพรหมนั่ง

                การขึ้นพรหม เป็นขนบธรรมเนียมอีอย่างหนึ่งของกระบี่กระบอง เพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจคือ พรหมวิหารสี่อันเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมะที่ขจัดความพาล ไม่นำเอาวิชากระบี่กระบองไปใช้ในทางที่ผิดเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ด้วยเหตุที่พรหมมี 4 หน้า หน้าหนึ่ง ๆ หมายถึงคุณธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นการขึ้นพรหมต้องรำให้ครบ 4 ทิศ

การขึ้นพรหมนั่ง
1.พรหมนั่งให้นั่งหันขวาเข้าหาคู่นั่งพรหมยืน
2.กระบี่วางด้านข้างกายทางซ้าย
3.ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
4.ประณมมือวันทา แล้วหยิบกระบี่
5.ยกกระบี่ข้ามศีรษะจัดอยู่ระดับเอวขวาศอกแนบชิดลำตัวเป็นมุมฉาก เข้าขวาตั้งมือซ้ายจีบอก
6.เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย โล้ตัวไปข้างหน้า รำหน้า
7.หมุน 180 องศา กลับทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้ายรำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้ายพร้อมวาดกระบี่ออกนั่งคุมรำ
8.โล้ตัวไปด้านหน้า รำหน้า หันทางขวา 90 องศา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย นุ่งคุมรำ
9.โล้ตัวไปด้านหน้า ลุกขึ้นยืน ลากเท้าชิดขวาเท้าซ้าย ยกเท้าซ้าย รำหน้า วางเท้าหมุน 180 องศาทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้างระดับคิ้ว ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวา พร้อมวาดกระบี่ออกทางขวา วางเท้าอยู่ในท่ายืนคุมรำ (จะหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้)
ประวัติของกระบี่กระบอง

                    การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง เพราะเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว

           อย่างไรก็ตาม ประวัติเริ่มต้นของการเล่นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหน และใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ และเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
            ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และและโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2409
            ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ  พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อย ๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในสมัยนั้น และในแต่ละปีอาจจะดูได้หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นกีฬากระบี่กระบองเป็นที่นิยมมาก จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน            ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5 และต่อมา
            ในรัชกาลที่ 7 กีฬากระบี่กระบองค่อย ๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น
                ทั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ จึงพยายามสงวนและเผยแพร่วิชากระบี่กระบองของไทยมากขึ้น ต่อมาเมื่อท่านโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสอนนักเรียนพลศึกษากลางเกี่ยวกับการเล่นกระบี่กระบองขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 หลังจากทดลองสอนอยู่ 1 ปี พบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จการศึกษามากขึ้นเป็นลำดับให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น